Fri. May 17th, 2024
รู้จักคอเลสเตอรอลสูง ตัวการร้ายทำลายสุขภาพ

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือหน่วยที่เอาไว้ใช้เรียกแทนมวลไขมันภายในร่างกาย โดยคอเรสเตอรอลนั้น สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ กล่าวคือ ร่างกายของเราสามารถสร้างคอเลสเตอรอลหรือไขมันได้นั่นเอง ซึ่งในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น ไม่สามารถหลีกเลี่ยงคอเลสเตอรอลได้อย่างแน่นอน เพราะไขมันชนิดนี้ มีอยู่ภายในอาหารทุกชนิด หากรับประทานอาหารประเภทไขมันก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้ ซึ่งสารอาหารชนิดนี้ ไม่ได้มีแต่เพียงข้อเสียเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วไขมันดีก็จัดเป็นสารอาหารที่ค่อนข้างสำคัญต่อร่างกายของอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน

คอเลสเตอรอล มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?

หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่าคอเลสเตอรอลสูงคือ ความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบแก่ร่างกาย หากรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันที่มากเกินไป แต่แท้จริงแล้ว ดูดไขมัน คอเลสเตอรอลนั้นมี 2 ประเภท กล่าวคือ มีทั้งไขมันดี และไขมันแย่ดังที่เราจะแจกแจงให้ทราบดังต่อไปนี้

1.คอเลสเตอรอลชนิดดี

เป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยมีหน้าที่ช่วยลำเลียงและดักจับไขมันส่วนเกินในร่างกายไปยังตับ เพื่อทำลาย แล้วขับออกโดยตับจนกระทั่งออกมาในรูปแบบของเสีย

2.คอเลสเตอรอลชนิดแย่

คอเลสเตอรอล ประเภทนี้จะเป็นตัวนำไขมันส่วนเกินไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ ผนังหลอดเลือด อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดไขมันสะสมหรือไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้เรียกว่า ภาวะคอเลสเตอรอลสูง จากไขมันประเภทแย่ ซึ่งนับไปสู่สาเหตุของโรคต่าง ๆ มากมาย หากไม่ทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือรีบรักษาอย่างทันท่วงที

คอเลสเตอรอลสูงอันตรายอย่างไร

คอเลสเตอรอลสูงจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่จะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน อันเกิดจากโรคต่าง ๆ เสียมากกว่า เช่น ปัญหาสุขภาพ อย่างเช่น โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ และภาวะไขมันอุดตันเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการเป็นอัมพาต เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาวะคอเลสเตอรอลสูงหรือภาวะไขมันสะสม ส่งผลอันตรายก็เนื่องจากไขมันที่พอกตามอวัยวะหรือเซลล์ต่าง ๆ เกิดการสะสมเป็นระยะเวลานาน ทำให้อวัยวะหรือเซลล์บริเวณที่มีไขมันสะสมทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดสภาวะเสื่อมสภาพลง กระทั่งนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดคอเลสเตอรอลสูง

เมื่อร่างกายมีระดับภาวะคอเลสเตอรอลสูง และหากยังไม่ได้รับการดูแลรักษาเพื่อลดปริมาณระดับคอเลสเตอรอลดังกล่าวลง ก็อาจจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ดังต่อไปนี้ขึ้นได้

1.หลอดเลือดในสมอง

เมื่อหลอดเลือดที่เต็มไปด้วยมวลไขมันหรือคอเลสเตอรอลในปริมาณมาก ย่อมส่งผลทำให้เส้นเลือดตีบแคบ ทำให้สมองไม่สามารถรับเลือดได้อย่างเพียงพอจนขาดออกซิเจน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตก หรือตีบตันและเสียชีวิตได้ในที่สุด

2.หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

เมื่อใดก็ตามที่เส้นเลือดหรือปริมาณคอเลสเตอรอลสูงเข้าขั้นโคม่า หัวใจคืออวัยวะสำคัญแรก ๆ ที่อาจได้รับความเสี่ยงที่เลือดจะไม่สามารถไหลเวียนผ่านหัวใจได้ ส่งผลทำให้เสียชีวิตได้เฉียบพลัน เพราะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันนั่นเอง

วิธีป้องกันการเกิดคอเลสเตอรอลสูง

ปัจจัยสำคัญของภาวะคอเลสเตอรอล เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะการกินอาหารที่มีไขมันสูง ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว แนะนำให้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ดังนี้

1.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง

อาหารประเภทนี้มักพบได้ทั่วไป และดูเหมือนจะเป็นอาหารจานโปรดของใครหลาย ๆ คนเช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ติดมัน ไข่แดง และอาหารทะเลอย่างปลาหมึก รวมถึงเครื่องปรุงรสอย่างเช่น น้ำตาล เป็นต้น

2.เปลี่ยนกรรมวิธีในการปรุงอาหาร

ถึงแม้จะเป็นเนื้อสัตว์ก็สามารถลดคอเลสเตอรอลลงได้เช่นกัน โดยเฉพาะการปรุงอาหารควรหลีกเลี่ยงของทอด เนื่องจากอาหารที่ทอดด้วยน้ำมันพืชก็สามารถเพิ่มคอเรสเตอรอลได้ หากต้องการกินอาหารที่ต้องผ่านการปรุงโดยใช้น้ำมันจริงๆ แนะนำน้ำมันมะกอกจะดีที่สุด ส่วนการปรุงอาหารที่แนะนำก็คือ การปรุงสุกแบบผ่านการย่าง นึ่งและต้มนั่นเอง

3.ออกกำลังกายเป็นประจำ

ควรหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะการออกกำลังกายจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อระบบเมตาบอลิซึ่ม ส่งผลทำให้เกิดการเผาผลาญ และช่วยลดปริมาณคอเรสเตอรอลสูงลงได้

4.ลดน้ำหนัก ไม่ปล่อยตัวให้อ้วนเกินไป

คนที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน ควรรีบลดน้ำหนักโดยด่วน เพราะความอ้วนคือ สภาพร่างกายที่บ่งชี้ถึง ปริมาณไขมันที่สะสมเป็นจำนวนมาก บ่งบอกว่าร่างกายกำลังอยู่ในช่วงขาดคอเลสเตอรอลชนิดดีหรือไขมันดี เป็นเหตุให้อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงเซลล์ถูกจับไปด้วยไขมันหรือคอเลสเตอรอลแย่ๆ จำนวนมาก ปริมาณไตรกลีเซอร์ไรด์ก็จะสูง นำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน, โรคไต , ความดันโลหิต และหัวใจต่อไป

5.ลดการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

หากจำเป็นต้องปาร์ตี้บ่อยครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เพราะเครื่องดื่มดังกล่าวสามารถเปลี่ยนเป็นคอเลสเตอรอลได้ในปริมาณสูง รวมถึงกับแกล้มที่เต็มไปด้วยอาหารไขมันสูงก็ควรเลี่ยงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ควรงดหรือลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ให้น้อยลง เพราะสารเคมีต่าง ๆ ที่อยู่ภายในบุหรี่ จะทำให้ตับไม่สามารถขับสารพิษออกจากร่างกายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลได้ด้วยนั่นเอง

6.รักษาโรคบางชนิดอย่างเหมาะสม

นอกจากพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยส่งผลทำให้เกิดคอเลสเตอรอลสูงแล้ว โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเราก็สามารถกระตุ้นให้ระดับคอเลสเตอรอลสูงได้เช่นกัน เช่น ต่อมไทรอยด์เสื่อมประสิทธิภาพ, โรคเบาหวาน, โรคไต, โรคตับและความดันโลหิต เป็นต้น

นอกจากนี้ ในส่วนของกรรมพันธุ์ หรือคนในครอบครัวมีประวัติภาวะดังกล่าว คนในครอบครัวรุ่นต่อมาก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น หากคุณมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสมด้วยจะดีที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงนำมาสู่การเกิดคอเลสเตอรอลสูงตามมานั่นเอง

By beauty