Fri. May 17th, 2024
ตากระตุกข้างขวา อาการเตือนจากร่างกายที่อาจเสี่ยงโรคร้ายได้

อาการตากระตุกข้างขวาหรือข้างซ้าย มักจะมาพร้อมกับความเชื่อโบราณต่าง ๆ ที่คนไทยมองว่าเป็นเรื่องของโชคลาภและการเตือนภัยในการใช้ชีวิต แต่ความเป็นจริงแล้วตากระตุกทั้ง 2 ข้าง หรือกระตุกเพียงข้างใดข้างหนึ่งบนบริเวณเปลือกตา ทั้งบนและล่าง อาจจะหมายถึงการบ่งบอกเรื่องโรคต่าง ๆ ที่กำลังจะมาเยือนสุขภาพของคุณได้ ดังนั้นวิธีการสังเกตว่าอาการกระตุกมีมาก-น้อยหรือบ่อยครั้งแค่ไหน จะเป็นหนึ่งในตัวช่วยเตือนเรื่องสุขภาพของคุณได้มากเลยทีเดียว

การเกิดตากระตุกข้างขวา มาจากสาเหตุใด

การเกิดปัญหาตากระตุกข้างขวาหรือข้างซ้าย จะพบได้ทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ แต่อาการจะไม่รุนแรงและกระตุกเพียงแค่ไม่นานจะหายไป โดยการกระตุกนั้นจะเกิดขึ้นทีละข้าง สามารถเกิดได้ทั้งช่วงเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง หรืออาจจะกระตุกสลับกันในบางเวลา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดการกระตุกบ่อยครั้งที่บริเวณเปลือกตาบน สำหรับช่วงเวลาของการเกิดจะไม่สามารถคาดเดาได้ เพราะอาจเป็นได้ทุกเวลาและเมื่อเป็นแล้วไม่นานจะหายได้เอง แต่ก็สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ใหม่อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน

แม้ว่าตากระตุกจะไม่ได้สร้างความเจ็บปวดหรืออันตรายใด ๆ แต่อาจเป็นตัวบ่งบอกถึงโรคร้าย หรือโรคเรื้อรังที่กำลังทวีความรุนแรงได้เช่นกัน ดังนั้นสาเหตุของการเกิดตากระตุก จึงมาได้จากหลายปัจจัย ทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ด้านการทำงานบริเวณประสาทเปลือกตาไปจนถึงส่วนของสมองผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดได้จากปัจจัยสำคัญดังนี้

  • พักผ่อนน้อยหรือมีการอดนอนบ่อยครั้ง
  • มีความเครียดสูงต่อเนื่อง
  • มีการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มคาเฟอีนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง
  • เกิดอาการระคายเคืองที่บริเวณเปลือกตา มีปัญหาตาล้า ตาแห้ง จากการทำงานผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนตลอดทั้งวัน
  • มีอาการเวียนศีรษะและจะมีอาการตากระตุกเตือนก่อน
  • การออกกำลังกาย
  • สายตาเผชิญกับแสงสว่างหรือลมบ่อยครั้ง
  • การสูบบุหรี่
  • ผลข้างเคียงของการใช้ยาบางประเภท
  • เปลือกตาอักเสบ
  • มีอาการไมเกรนและทำให้เกิดปัญหาตาไวต่อแสง

วิธีการดูแลเมื่อเกิดปัญหาตากระตุกข้างขวา

การดูแลปัญหาตากระตุกที่เป็นเพียงอาการทั่วไป ไม่ได้รุนแรงมากนัก สามารถทำได้ด้วยตัวคุณเองจากการลดสาเหตุเบื้องต้น ที่จะช่วยทำให้อาการตากระตุกทั้งด้านขวาและด้านซ้ายดีขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ

  • การปรับเปลี่ยนวิธีการนอน เพื่อให้นอนอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง หรืองดไปเลยได้ยิ่งดี
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรืออยู่ในจุดที่มีควันบุหรี่ปริมาณสูง
  • ลดความตึงเครียดในการใช้ชีวิต
  • ออกกำลังกายและดูแลสุขภาพให้มากขึ้น
  • เมื่อมีอาการตาแห้งหรือตาอักเสบ ควรรีบรักษาทันที
  • เลือกใช้น้ำตาเทียมหรือยาหยอดตาเพิ่มการหล่อลื่นของดวงตา ลดปัญหาเยื่อประสาทตาอักเสบ
  • ทำการประคบร้อน เมื่อเกิดปัญหากล้ามเนื้อกระตุก

ตากระตุกข้างขวาและซ้ายแบบใด ที่ต้องพบแพทย์

สำหรับผู้ที่มีอาการกระตุกที่เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น สามารถพบแพทย์เพื่อขอยารักษาสำหรับลดอาการกระตุกที่ตาขวาและซ้ายได้ โดยการรักษาของแพทย์จะประเมินจากความรุนแรงของการกระตุกเป็นหลัก ถ้าอาการไม่รุนแรงมากจะมีการให้ยาประเภทลอราซีแพม, ไตรเฮกซีเฟนิดิล และโคลนาซีแพม เพื่อทำการบรรเทาอาการกระตุกไว้ชั่วคราว แต่ถ้าเมื่อใดที่อาการเริ่มรุนแรงขึ้น อาจต้องมีการส่งให้จักษุแพทย์ตรวจสอบเฉพาะด้านเพื่อมองหาแนวทางรักษา

ซึ่งหนึ่งในวิธีการหยุดอาการกระตุกได้ดีที่สุด คือ การฉีดโบท็อก แต่จะช่วยหยุดได้ในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน เพราะเมื่อโบท็อกหมดฤทธิ์แล้ว อาการของตากระตุกข้างขวาและข้างซ้ายอาจกลับมาอีก ดังนั้นจึงต้องมีการฉีดซ้ำ นอกจากนี้ยังอาจใช้วิธีการผ่าตัดศัลยกรรมช่วงบริเวณกล้ามเนื้อและช่วงเส้นประสาทเปลือกตา เพื่อลดความรุนแรงลง

ระวัง! อาการแทรกซ้อนของตากระตุกข้างขวา

อาการตากระตุกข้างขวาและข้างซ้าย หรือบริเวณอื่น ๆ สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ถ้ามีความรุนแรงจนกลายเป็นความผิดปกติของสมองและระบบประสาท โดยอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นร่วม คือ

  • อาการอัมพาตบนใบหน้าหรือ Bell Palsy มีการกระตุกขึ้นแค่เพียงบริเวณซีกใดซีกหนึ่งของใบหน้า เกิดการอ่อนแรงลงและกลายเป็นการบิดเบี้ยวผิดปกติ
  • การเกิดภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งหรือ Dystonia จะมาพร้อมอาการกระตุกของกล้ามเนื้อและกลายเป็นการบิดเกร็งไปในที่สุด
  • อาการคอบิดเกร็งที่จะเกิดการกระตุก แล้วศีรษะบิดเกร็งไปทางด้านใดด้านหนึ่งและไม่สามารถคืนกลับมาได้ตามปกติ
  • ภาวะกรอบประสาทเสื่อมแข็ง โดยจะเกิดความผิดปกติตรงช่วงบริเวณประสาทส่วนกลาง ที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวและการรับรู้กระบวนการต่าง ๆ
  • โรคพาร์กินสันที่จะเป็นอาการสั่นทั่วบริเวณ ทั้งแขนและขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีปัญหาด้านการทรงตัวและการพูดกับการใช้ชีวิตจะลำบากมากขึ้น

ถ้าเกิดปัญหาตากระตุกข้างขวาหรือข้างซ้ายที่ไม่รุนแรงมาก ให้คุณสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเกิดความผิดปกติจากความเครียด การพักผ่อนน้อย การบริโภคอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายซ้ำบ่อยครั้ง รวมไปถึงพฤติกรรมน่ากังวลใจอย่างการสูบบุหรี่หรือการทำกิจกรรมทุกอย่างเร่งรีบตลอดเวลา จึงส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลสูง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อทำให้ปัญหาการกระตุกผ่อนคลายลง แต่ถ้าเมื่อใดที่พบว่าอาการรุนแรงขึ้นควรพบแพทย์ทันที

By beauty